วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

ทันตกรรมจัดฟัน

การจัดฟัน       

 
             เป็นการรักษาเพื่อจัดเรียงฟันให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องสวยงาม แก้ไขการสบฟันที่ผิดปกติ ฟันซ้อนเก ฟันห่าง ฟันยื่นมากเกินไป นอกจากนี้ยังเป็นการแก้ไขลักษณะการบดเคี้ยวที่ผิดปกติ แก้ไขโครงสร้างของรูปหน้าและขากรรไกรให้มีความสมดุลสวยงาม และแก้ไขการพูดไม่ชัดอันเนื่องมาจากการเรียงตัวของฟันด้วย

ช่วงอายุเท่าไรที่เหมาะกับการจัดฟันมากที่สุด 


          ช่วงอายุที่เหมาะกับการจัดฟันมากที่สุด คือ ช่วงอายุประมาณ 12-13 ปี ซึ่งอายุช่วงนั้นจะเป็นช่วงที่ฟันแท้เริ่มขึ้นครบ และขากรรไกรเริ่มมีการเจริญเติบโต ทำให้การขยายหรือลดรูปร่างขากรรไกรเป็นไปได้ง่าย

แต่จริงๆแล้ว ทุกเพศและทุกวัยสามารถจัดฟันได้ทั้งสิ้น โดยเฉพาะกลุ่มวัยผู้ใหญ่สามารถจัดฟันได้เช่นกัน หากสภาพโครงสร้างของฟันและโครงกระดูกหน้าอยู่ในสภาพเหมาะสม และผู้ใหญ่ส่วนใหญ่เริ่มสนใจการจัดฟันมากขึ้นเนื่องจาก ตระหนักถึงรอยยิ้มเป็นสำคัญ เพราะเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของบุคลิกภาพ

การจัดฟัน จะต้องถอนฟันด้วยหรือเปล่า

        
        การจัดฟันไม่จำเป็นเสมอไปที่จะต้องถอนฟันทุกเคส ขึ้นอยู่กับปัญหาและความต้องการที่อ ยากได้จากการจัดฟันของคนไข้ เป็นหลัก ภายใต้ความเป็นไปได้ของแผนการรักษา 
         ในผู้ป่วยบางรายที่มีฟันซ้อนกัน หรือฟันเกมากๆ การถอนฟันมักจะต้องทำเพื่อเพิ่มช่องว่างให้เหมาะสำหรับการเรียงตัวของฟัน โดยซี่ที่มักจะถูกถอน คือ ฟันกรามน้อยที่อยู่ถัดจากฟันเขี้ยว แต่ทันตแพทย์อาจจะพิจารณาถอนฟันที่มีความผิดปกติ เช่น ผุมาก หรือมีรูปร่างผิดปกติ เพื่อเก็บฟันซี่ที่ดีที่สุดไว้ แต่อาจจะทำให้ระยะเวลาในการจัดฟันนานขึ้น หรืออาจจะต้องใช้เครื่องมือพิเศษเพื่อช่วยในการรักษา

เวลาที่ใช้ในการจัดฟันนานแค่ไหน


         ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดฟันโดยส่วนใหญ่แล้ว จะใช้เวลาประมาณ 1-3 ปี หรืออาจนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะปัญหาของคนไข้แต่ละท่าน ทั้งนี้ทันตแพทย์ที่ดูแลรักษาจะชี้แจงถึงรายละเอียดต่างๆให้คนไข้ทราบ ก่อนการรักษาอยู่แล้ว
 

การจัดฟัน จะทำให้รูปหน้าเปลี่ยนไปจากเดิมหรือไม่


         ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดฟันแน่นอนคือ ฟันที่เรียงเป็นระเบีบบ ซึ่งก็ทำให้ได้รอยยิ้มที่สวยงามขึ้น แผนการรักษาก็มีส่วนสำคัญที่จะทำให้รูปหน้าเปลี่ยนไปจากเดิมมากน้อยแค่ไหน และแต่ละเคสก็พบปัญหาต่างๆกันไป รวมถึงการถอนฟันหรือไม่ถอนฟันก็มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของรูปหน้า ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจรักษาด้านการจัดฟัน ควรเลือกปรึกษากับทันตแพทย์ที่มีความรู้และความชำนาญเฉพาะทาง จัดฟันโดยตรง เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ตรงตามความต้องการมากที่สุด

เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า ฟันจะไม่กลับไปสู่สภาพเดิมหลังจากที่จัดฟันแล้ว


         เครื่องมือที่ทันตแพทย์ใส่ให้ผู้ป่วย หลังจากถอดเครื่องมือจัดฟันที่ติดอยู่แล้วนั้น คือเครื่องมือช่วยคงสภาพฟัน ซึ่งผู้ป่วยหลังจัดฟันต้องใส่ทุกคน เพื่อป้องกันมิให้ฟันที่จัดไว้แล้วนั้นเคลื่อนไป เพราะโดยธรรมชาติแล้ว ฟันมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนกลับไปในตำแหน่งที่บิดเกเหมือนก่อนจัดฟัน จึงมีความจำเป็นที่ต้องใส่เครื่องมีควบคุม ดังนั้นความร่วมมือของผู้ป่วย ในการใส่เครื่องมือนี้ และไปพบทันตแพทย์ตามนัดหมายอย่างต่อเนื่อง จึงมีความสำคัญยิ่ง ที่จะทำให้ผลการรักษาประสบความสำเร็จ คงสภาพฟันที่จัดไว้ดีแล้วให้เป็นระเบียบสวยงามต่อไป

ข้อปฏิบัติระหว่างใส่เครื่องมือจัดฟัน


  1. ก่อนเริ่มจัดฟัน ทันตแพทย์จะดูแลรักษาฟันที่ผุ และขูดหินปูน รักษาโรคเหงือก เพื่อเตรียมสภาพในช่องปาก ให้สะอาดแข็งแรง เมื่อเริ่มติดเครื่องมือจัดฟันแล้ว จะต้องเอาใจใส่ในการทำความสะอาดมากเป็นพิเศษ เพราะเศษอาหารต่างๆ มักติดค้างตามซอกฟัน และเครื่องมือจัดฟันได้ง่าย นอกเหนือจาก การใช้แปรงสีฟันตามปกติแล้ว ต้องใช้แปรงซอกฟัน หรือใหมขัดฟัน ในการทำความสะอาดด้วย การดูแลรักษาความสะอาดที่ดี จะช่วยให้ได้ผลการรักษาตามที่ต้องการภายในระยะเวลาที่เหมาะสม
  2. การรับประทานอาหาร ควรหลีกเลี่ยงอาหารแข็ง อาหารเหนียว และอาหารก้อนโต เพราะจะทำให้เครื่องมือหลุด หัก หรือลวดหักงอได้
  3. บางกรณีทันตแพทย์อาจมีอุปกรณ์ให้ผู้ป่วยใส่เองขณะอยู่บ้าน เช่น อุปกรณ์ช่วยดึงฟันกราม ยางดึงฟัน ฯลฯ ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้สามารถเคลื่อนฟันไปในทิศทางที่ต้องการ
  4. ควรไปพบทันตแพทย์ตามกำหนดเวลานัดหมาย การปล่อยปละละเลย หรือขาดการรักษานานๆ จะทำให้แผนการรักษาเสียไป การรักษายุ่งยากขึ้น และจะมีฟันผุและเหงือกอักเสบได้

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ฟอกสีฟันขาว


 
ทางคลินิกสไมล์ไอเดียของเรา มีเครื่องฟอกสีฟันขาวด้วยระบบแสงเย็น Cool Light by Beyond จากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้นำระบบการฟอกสีฟันอย่างมืออาชีพ เทคนิคให้ผลดีเยี่ยม และมีความปลอดภัยสูงเพราะเป็นแสงเย็น ไม่มีรังสี UV ที่เป็นอันตราย ไม่ทำให้เกิดความร้อนและไม่ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อในช่องปากและฟัน
 
   บียอนด์ใช้ได้กับทุกคนที่ต้องการให้ฟันขาว รวมถึงผู้ที่ฟันมีคราบบุหรี่หรือชา กาแฟ ฟันตกกระ ฟันด่าง ฟันสีเข้มจากยาเตตราไซคลิน
 
   หลังจากฟอกสีฟันด้วยบียอนด์แล้ว ฟันจะขาวขึ้นได้ 5-14 ระดับ(วัดโดยไวต้าสเกล) โดยผลลัพท์ขึ้นอยู่กับสีฟันที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิม และการตอบสนองต่อการรักษาของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกันนะคะ
 
   ฟอกสีฟันขาวแล้ว โดยทั่วไปฟันจะขาวอยู่ได้นานอย่างน้อย 2-5 ปีขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล รวมถึงการทำความสะอาด และอาหารที่รับประทาน
   
   ด้วยระบบนี้เป็นการฟอกสีฟันด้วยแสงเย็น จึงไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อฟันของคุณ ทำให้ฟันขาวได้โดยไม่ต้องกังวลเลยค่ะ จะมีแค่บางคนที่อาจจะมีอาการเสียวฟันขณะที่ฟอกสีฟัน หรือหลังทำได้โดยอาการเสียวฟันจะหายได้เองภายใน 1-2 วัน   
 
   ภายหลังการฟอกสีฟัน ใน 24 ชั่วโมงแรกควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการบริโภคชา กาแฟ น้ำอัดลม ไวน์แดง อาหารและเครื่องดื่มที่มีสีเข้ม ตลอดจนหลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาบ้วนปากและยาสีฟันที่มีสีด้วยเช่นกันค่ะ
 
ขั้นตอนการฟอกสีฟันที่คลินิก
1. เทียบเฉดสีฟันตั้งต้นบนไวต้าสเกล ว่าสีฟันดั้งเดิมอยู่ที่ระดับใด
2. ทำความสะอาดฟัน โดยการขูดหินปูน ขัดฟันทั้งปาก
3. ใส่อุปกรณ์ป้องกันแก้มและเหงือก
4. ทาน้ำยาฟอกสีฟันขาวของบียอนด์ (ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 35%) ลงบนผิวฟัน
5. ให้แสงเย็น Cool Light by Beyond ลงบนตัวฟัน ทำให้เกิดการฟอกฟันขาวโดยสมบูรณ์
ทำการฟอกสีฟัน 3 รอบ รอบละ 15 นาที (เปลี่ยนน้ำยาใหม่ทุกรอบ เพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่ดีเยี่ยม)
6. ทำการเทียบสีฟันให้ผู้ป่วยดูอีกครั้ง
7. ขั้นตอนสุดท้ายทำการเคลือบฟลูออไรด์เพื่อลดอาการเสียวฟัน และให้ฟันแข็งแรง
 
ฟอกสีฟันขาวด้วยตนเองที่บ้าน
 
Promotion ชุดฟอกสีฟันขาวที่บ้าน 3900 บาท สุดคุ้ม โดยจะได้รับถาดใส่น้ำยาฟอก 2 ชิ้น (บนและล่างและน้ำยาฟอกสีฟันขาวบียอนด์ 4 หลอด (2.6 ml/หลอด) 1 หลอดใช้ได้ 7 วัน

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ผ่าฟันคุด

ฟันคุด คือ อะไร
 

ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ในช่องปาก อาจจะโผล่ขึ้นมาได้เพียงบางส่วน หรือฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรทั้งซี่ ฟันซี่ที่พบว่าเป็นฟันคุดบ่อยที่สุด คือ ฟันกรามล่างซี่สุดท้าย ซึ่งอยู่ด้านในสุดของกระดูกขากรรไกรล่าง โดยปกติฟันซี่นี้ควรจะขึ้นในช่วงอายุ 18-25 ปี อาจโผล่ในลักษณะตั้งตรง เอียง หรือนอนในแนวราบ และมักจะอยู่ชิดกับฟันข้างเคียงเสมอ นอกจากนี้ฟันซี่อื่นๆ ก็อาจจะคุดได้ เช่น ฟันเขี้ยว ฟันกรามน้อย แต่พบได้น้อยกว่าฟันกรามล่างซี่สุดท้าย
 

จะทราบได้อย่างไรว่ามีฟันคุด

จากการตรวจในช่องปาก ถ้าพบว่าฟันซี่ใดโผล่มาได้เพียงบางส่วน หรือฟันซี่ใดหายไป ก็ให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่าน่าจะมีฟันคุด เพื่อให้แน่ใจก็ควรจะเอ็กซเรย์ดู ก็จะทำให้ทราบว่าฟันคุดฝังอยู่ตำแหน่งใดบ้าง การเอ็กซเรย์พานอรามิกจะเห็นฟันทั้งหมดในกระดูกขากรรไกรบนและล่าง รวมถึงพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในกระดูกขากรรไกร
 

ทำไมถึงต้องผ่าฟันคุด

o เพื่อป้องกันการอักเสบของเหงือกที่ปกคลุมฟัน เพราะจะมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ใต้เหงือกแล้วไม่สามารถทำความสะอาดได้ เชื้อแบคทีเรียที่สะสมอยู่จะทำให้เหงือกอักเสบ ปวดบวมและเป็นหนอง ถ้าทิ้งไว้การอักเสบจะลุกลามไปใต้คาง หรือใต้ลิ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายได้ง่าย นับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง

 

o เพื่อป้องกันฟันข้างเคียง คือ การผุซอกฟันระหว่างฟันคุดกับฟันกรามที่2 ที่อยู่ข้างเคียงกันนั้น เนื่องจากทำความสะอาดได้ยาก ทำให้มีเศษอาหารเข้าไปติดค้างและเกิดฟันผุได้ทั้ง 2 ซี่

o เพื่อป้องกันการละลายตัวของกระดูก แรงดันจากฟันคุดที่ดันขึ้นมา สามารถทำให้กระดูกรอบรากฟัน หรือรากฟันข้างเคียงถูกทำลายไป

o เพื่อป้องกันการเกิดถุงน้ำหรือเนื้องอก ฟันคุดที่ทิ้งไว้นานไป เนื้อเยื่อที่หุ้มรอบฟันคุดอาจจะขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นถุงน้ำ แล้วโตขึ้นโดยไม่แสดงอาการเลย จนในที่สุดเกิดการทำลายฟันซี่ข้างเคียงและกระดูกรอบๆบริเวณนั้น

o เพื่อป้องกันกระดูกขากรรไกรหัก จากการที่มีฟันคุดฝังอยู่ จะทำให้กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นบางกว่าตำแหน่งอื่นเกิดเป็นจุดอ่อนเมื่อได้รับอุบัติเหตุหรือกระทบกระแทก จะทำให้บริเวณนั้นหักได้ง่าย

o วัตถุประสงค์อื่นๆ เช่น ในการจัดฟัน ต้องถอนฟันกรามซี่ที่ 3 ออกก่อน เพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนฟันซี่อื่นๆ


ขั้นตอนการผ่าฟันคุด ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดนะคะ

เริ่มต้นจาก x-ray ดูฟันคุดซี่ที่ต้องการเอาออกก่อนค่ะ  จากนั้นคุณหมอจะทายาชาป้ายที่เหงือกก่อน เพื่อลดความเจ็บขณะฉีดยาชาเฉพาะที่ เมื่อชาแล้วก็จะไม่รู้สึกเจ็บขณะทำเลยค่ะ แค่จะรู้สึกตึงๆรั้งๆบ้างเท่านั้นเอง จากนั้นจะทำการผ่าเปิดเหงือก เพื่อให้เห็นฟันและใช้เครื่องมือกรอตัดฟันออกมา ล้างทำความสะอาด และเย็บปิดแผล

การปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัด

1. กัดผ้าก๊อชให้แน่นพอสมควร ประมาณ 1-2 ชั่วโมง หรือจนกว่าจะหายชา เมื่อเลือดหยุดแล้วจึงคายผ้าก๊อชออก อย่ากัดผ้าก๊อชไว้ตลอดวันตลอดคืน
2. ถ้าเลือดไหลไม่หยุดให้กัดผ้าก๊อชที่สะอาดต่ออีก 1 ชั่วโมง และใช้น้ำแข็งห่อผ้าประคบนอกปาก ทำไมถึงต้องผ่าฟันคุด

3. ห้ามบ้วนปาก บ้วนน้ำลายตลอดวันที่ถอนฟัน ถ้ามีเลือดหรือน้ำลายไหลออกมา ให้กลืนลงคอ จะช่วยให้กัดผ้าก๊อชได้ดี เลือดจะหยุดเร็วขึ้น

4. ให้ใช้น้ำแข็งห่อผ้าประคบนอกปากตรงกับตำแหน่งแผลผ่าตัดฟันคุด เมื่อรู้สึกเย็นจัดหรือชาๆ ให้หยุดประคบ รอสักครู่แล้วค่อยเริ่มต้นประคบใหม่ อย่าประคบน้ำแข็งแช่อยู่ตลอดเวลา ประคบน้ำแข็งเป็นระยะๆ ประมาณ 15 นาที โดยทำในระหว่างที่ยังคงกัดผ้าก๊อชในปากอยู่ จะช่วยให้เลือดหยุดดีขึ้น ในวันรุ่งขึ้นให้ใช้น้ำอุ่นประคบนอกปากเป็นระยะ ๆ ตลอดวัน จะช่วยบรรเทาอาการบวมลงได้

5. ขณะที่ยังชาอยู่ ระวังอย่าขบริมฝีปากเล่น จะทำให้เกิดแผลได้ อาการปวดและบวมด้านที่ทำการผ่าฟันคุดสัก 2-3 วันและอ้าปากได้น้อยลง ซึงสามารถบรรเทาได้โดยการรับประทานยาแก้ปวด การรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารอ่อนระยะหนึ่ง เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนต่อแผล ผู้ป่วยสามารถพูดคุยได้ตามปกติ

6. ห้ามบ้วนน้ำ หรือน้ำยาบ้วนปากใดๆ ใน 1-2 วันแรก เพราะจะทำให้ก้อนเลือดที่แผลถอนฟันหลุดออก และเกิดกระดูกเบ้าฟันอักเสบ โดยมีอาการปวดแผลตื้อๆ อยู่ตลอดเวลา ในวันต่อมาอาจใช้น้ำยาบ้านปาก หรือน้ำเกลืออุ่น (น้ำอุ่น 1 แก้วผสมกับเกลือแกง 1/2 ช้อนชา) บ้วนปากเบาๆ โดยเฉพาะภายหลังรับประทานอาหารได้

7. ให้แปรงฟันทำความสะอาดช่องปากตามปกติ เพียงแต่ระมัดระวังแผลผ่าตัดหรือถอนฟัน


8. ถ้ามีอาการปวดแผลถอนฟัน ให้รับประทานยาแก้ปวดครั้งละ 1-2 เม็ด ถ้าอาการปวดไม่หายให้รับประทานยาแก้ปวดซ้ำอีก แต่ควรจะห่างกัน 4 ชั่วโมง การรับประทานยามากกว่ากำหนด เพียงหวังผลให้หายเร็วนั้น อาจเป็นอันตรายได้ ในกรณีที่ทันตแพทย์สั่งจ่ายยาแก้อักเสบให้ ต้องรับปะทานตามกำหนดเวลาจนกว่ายาจะหมด เพื่อให้ผลในการรักษาการติดเชื้อ และป้องกันไม่ให้เกิดอาการดื้อยา


9. ห้ามเอานิ้วมือ ไม้จิ้มฟันแคะเขี่ยบริเวณแผลถอนฟัน และห้ามดูดแผลเล่น


10. ทำงานประจำได้ตามปกติ แต่อย่าออกกำลังกาย เล่นกีฬา หรือทำงานที่ใช้กำลังมากๆ เกินควร


11. ควรรับประทานอาหารอ่อน รสไม่จัด ควรดื่มนมจากแก้วมากกว่าการใช้หลอดดูด การใช้หลอดดูดจะทำให้ก้อนเลือดในแผลหลุดออกและปวดแผลได้ ห้ามสูบบุหรี่ ดื่มสุรา เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดจัด หรือร้อนจัด

12. ในกรณีแผลผ่าตัด แผลฟันคุด ที่เย็บแผลไว้ ควรกลับมาตรวจดูแผลและตัดไหมภายหลังประมาณ 5-7 วัน

13. ถ้าเลือดออกไม่หยุด หรือมีอาการปวด-บวมผิดปกติ ควรติดต่อทางคลินิกฯ และรีบกลับมาพบแพทย์ทันที

14. เมื่อถอนฟันไปแล้ว ควรรอแผลหายและเหงือกยุบตัวเต็มที่ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ และควรปรึกษาทันตแพทย์ว่าสมควรต้องใส่ฟันปลอมทดแทนช่องว่างของฟันซี่ที่ถอนไปหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์
  - ป้องกันฟันข้างเคียงล้มเข้าหาช่องว่าง
  - ป้องกันฟันคู่สบยื่นยาวลงมาสู่ช่องว่าง 
  - เพื่อประสิทธิภาพของการบดเคี้ยวเท่าเดิม หรือใกล้เคียง
  - เพื่อความสวยงามและสร้างเสริมบุคลิกภาพ
  - ช่วยในการออกเสียงได้ชัดเจน
  - ภาวะแทรกซ้อนจาการผ่าตัดฟันคุด

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โรคเหงือกอักเสบ โรค ปริทันต์ คืออะไร ?


โรคปริทันต์ เริ่มต้นจากโรคเหงือกอักเสบซึ่งเกิดจากการสะสมของคราบแบคทีเรียเป็นเวลานานๆ จนเกิดอาการอักเสบที่เหงือก และสามารถลุกลามไปยังอวัยวะอื่นรอบบริเวณฟัน เช่น กระดูกเบ้าฟัน เป็นต้น โรคปริทันต์อาจเกิดขึ้นกับฟันเพียงซี่เดียวหรือส่งผลต่อฟันหลายๆซี่ในเวลาเดียวกันได้

โรคปริทันต์เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
โรคปริทันต์เกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรียในคราบฟัน หรือ คราบแบคทีเรีย (แผ่นคราบเหนียวๆไร้สีที่คอยก่อตัวอยู่บนฟัน) ซึ่งหากปล่อยปละละเลยและไม่ได้รับการทำความสะอาดฟันอย่างเป็นกิจวัตรด้วยการแปรงฟันและการใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี คราบเหล่านี้จะก่อตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนกลายเป็นคราบแข็งที่เรียกว่าคราบหินปูน ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้เหงือกอักเสบเท่านั้น อาจจะลุกลามไปถึงกระดูกเบ้าฟันได้ ทำให้กระดูกเบ้าฟันละลาย ร่องเหงือกลึกลงไปเรื่อยๆจนสูญเสียฟันในที่สุด
ใครบ้างที่มีความเสี่ยงต่อโรคเหงือกอักเสบ ?
โรคเหงือกอักเสบเกิดขึ้นได้ในคนทุกวัย แต่จะพบมากสุดในวัยผู้ใหญ่ สิ่งที่ทำให้เกิดความเสี่ยงมากเพิ่มขึ้น คือ
- การสูบบุหรี่
- โรคบางชนิด เช่น เบาหวาน
- ฟันที่เก ไม่เป็นระเบีบย
- การเสื่อมสภาพหรือชำรุดของวัสดุอุดฟัน
- การตั้งครรภ์หรือการใช้ยาคุมกำเนิด (ชนิดที่ใช้รับประทาน)

อาการของโรคปริทันต์มีอะไรบ้าง ?
โรคนี้จะไม่เห็นอาการชัดเจนในระยะแรก การเข้าพบทันตแพทย์เป็นประจำจะช่วยให้การตรวจพบโรคและทำการรักษาให้หายได้ง่ายตั้งแต่เนิ่นๆ
อาการที่บอกว่าเป็นโรคปริทันต์
- เหงือกบวมแดง
- มีเลือดออกตามไรฟันขณะแปรงฟัน
- มีภาวะเหงือกร่น
- มีกลิ่นปากเรื้อรัง
- อาจมีหนองออกตามร่องเหงือก
- มีช่องว่างระหว่างฟันมากขึ้น เศษอาหารติดซอกฟันง่ายขึ้น
- ฟันโยก และถ้าไม่ได้เข้ารับการรักษาโดยทันตแพทย์ ฟันก็จะหลุดไปในที่สุด

ระดับความรุนแรงของโรคปริทันต์เป็นอย่างไร ?
เริ่มตั้งแต่โรคเหงือกอักเสบซึ่งเป็นอาการในระยะเริ่มแรกและหากปล่อยไว้ หรือละเลยการดูแลเอาใจใส่อย่างเหมาะสมจะเพิ่มความรุนแรงของโรค จนกลายเป็นโรคปริทันต์อักเสบในที่สุด

จะรักษาโรคปริทันต์ได้อย่างไร ?
ควรจะเข้ารับการดูแลรักษาโดยทันตแพทย์ตั้งแต่เป็นโรคเหงือกอักเสบระยะเริ่มต้นเพราะสามารถป้องกันไม่ให้โรคลุกลามจนเป็นปัญหาใหญ่
- เข้ารับการขูดหินปูนเป็นประจำทุก6เดือน
- แปรงฟัน และใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี
- การเกลารากฟัน เป็นวิธีรักษาเมื่อมีอาการรุนแรงขึ้น คือการทำให้ผิวฟันเรียบ ทำให้คราบแบคทีเรียเกาะติดกับผิวฟันได้ยากขึ้น

จะป้องกันการเกิดโรคปริทันต์ได้อย่างไร ?
- แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
- ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟันเป็นประจำทุกวัน
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
- เข้าพบทันตแพทย์เป็นประจำ อย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง






คลินิกทำฟัน ให้บริการโดยทีมทันตแพทย์เฉพาะทาง

ให้บริการทำฟันทั่วไป รักษารากฟัน ฟันปลอม ครอบฟัน รักษาฟันเด็ก จัดฟัน ฟอกสีฟันขาวด้วยระบบคูลไลท์ ในราคาไม่แพง